ค้นหา

แผงโซลาร์ ป้องกัน UV สะท้อน IR เพื่องานภาคเกษตร

ดร.ทวีวัฒน์ กระจ่างสังข์ ดร.อมรรัตน์ ลิ้มมณี ดร.ดวงพร ศิริกิตติกุล ดร.อทิตย์สา เพ็ชรสุข รศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ชาญณรงค์ ภิรมย์จิตร สัมพันธ์ ศิวะวรพันธ์ มาลัย วงค์ผาบุตร ศักรินทร์ อินทวงศ์ ดวงฤทัย ศรีนุ่น ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เข้าชม 598 ครั้ง

นักวิจัย :
ดร.ทวีวัฒน์ กระจ่างสังข์ ดร.อมรรัตน์ ลิ้มมณี ดร.ดวงพร ศิริกิตติกุล ดร.อทิตย์สา เพ็ชรสุข รศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ชาญณรงค์ ภิรมย์จิตร สัมพันธ์ ศิวะวรพันธ์ มาลัย วงค์ผาบุตร ศักรินทร์ อินทวงศ์ ดวงฤทัย ศรีนุ่น

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
แผงเซลล์แสงอาทิตย์กึ่งโปร่งแสง AgriPV มีคุณสมบัติกรองรังสี อัลตราไวโอเลต (UV) และสะท้อนรังสีอินฟราเรดแบบใกล้ (NIR) และ ส่องผ่านช่วงความยาวคลื่น 400-700 nm หรือ Photosynthetically Active Radiation (PAR) เป็นช่วงแสงที่มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์ แสงเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช จึงสามารถใช้เป็นหลังคาโรงเรือน เพาะปลูกพืชในธีม Agrivoltaics โดยคณะวิจัยได้ปรับปรุงชั้น โครงสร้างของแผงเซลล์แสงอาทิตย์และพัฒนาเงื่อนไขการลามิเนตแผงที่เหมาะสม

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
• ใช้เป็นหลังคาโรงเรือนการเกษตรที่สามารถทําการเพาะปลูกพืชควบคู่ไปกับการผลิตไฟฟ้าได้
• แผงเซลล์แสงอาทิตย์ AgriPV มีชั้นฟิล์มกรองรังสียูวี สะท้อนรังสีความร้อนและให้แสงช่วง PAR ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชส่องผ่านได้ และช่วยลดอุณหภูมิภายใต้โรงเรือนหรืออาคารได้
• แผงเซลล์แสงอาทิตย์ AgriPV ยังสามารถประยุกต์ใช้กับกระจกอาคาร หลังคาโรงจอดรถได้

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
1.เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่จากการเกษตร และการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์
2.ลดต้นทุนของกิจการด้วยการใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566