ค้นหา

เส้นโปรตีนไข่ขาว

นายนันท์ธร เจริญศักดิ์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงาน ,วช. และ บพข.หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย
เข้าชม 582 ครั้ง

นักวิจัย :
นายนันท์ธร เจริญศักดิ์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงาน ,วช. และ บพข.หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสําคัญเรื่องอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น จากการสํารวจของ Euromonitor พบว่า มูลค่าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคให้ความสนใจรับประทานอาหารที่ มีโปรตีนสูงเพิ่มขึ้น เนื่องจากรู้สึกว่าทําให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และช่วยควบคุมน้ําหนัก

อย่างไรก็ตามในทางโภชนาการนั้น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ออกกําลังกายและสร้างกล้ามเนื้อ รวมถึงผู้ป่วย ได้แก่ มะเร็ง โต วายเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด เป็นต้น เป็นกลุ่มที่ร่างกายต้องการอาหารประเภทโปรตีนมากขึ้น จึงทําให้โปรตีน จากไข่ขาวได้รับความสนใจในการบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นโปรตีนที่หาซื้อได้ง่าย มีคุณภาพสูง ย่อยง่าย ปราศจากไขมัน แต่การบริโภคไข่ขาวต้มจํานวนมากต่อวันเป็นระยะเวลานาน ทําให้ผู้บริโภคเกิดความเบื่อหน่าย ซ้ําซากจําเจ เกิดความเครียด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องทานไข่ขาวตลอดชีวิต

ทีมวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงคิดนวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาวพร้อมทาน ไร้แป้ง โปรตีนสูง เป็นรายแรกของประเทศ มีเนื้อสัมผัสอร่อยคล้ายเส้นแป้ง ใช้แทนเส้นได้ทุกชนิด ทําอาหารได้ทั้งของคาวและของ หวาน เช่น ลอดช่อง ซ่าหริ่ม เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครับประทานโปรตีนจากไข่ขาวได้อย่างมีความสุข เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่รับประทานก๋วยเตี๋ยวในชีวิตประจําวันมาเป็นเวลายาวนาน

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
• พลังงานต่ํา ไร้แป้ง พร้อมทาน keto low-carb ทานได้
• อร่อย เนื้อนุ่ม เด้ง คล้ายเส้นแป้ง
• เก็บในได้นาน 18 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น
• ฆ่าเชื้อด้วยการสเตอริไลซ์
• เหมาะสําหรับผู้ป่วยที่ต้องล้างไต ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้สูงอายุ คนลดน้ําหนัก
• ไม่ต้องต้มซ้ํา ไม่ต้องล้างน้ํา ไม่ใส่วัตถุกันเสีย

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
นําไข่ขาวที่เป็นวัตถุดิบเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม อาหารมาเพิ่มมูลค่าได้มากถึง 14 เท่า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับโลก

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566