ค้นหา

นวัตกรรมชีวภัณฑ์กําจัดศัตรูพืช ไตรโคเดอร์มาไฟฝ์พลัส

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วช. และสวทช.
เข้าชม 976 ครั้ง

นักวิจัย :
รศ. ดร.วาริน อินทนา สํานักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
จากการวิจัยเชิงพื้นที่พบว่าเกษตรกรไทยมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพ โดยมีสาเหตุจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาผลผลิตตกต่ําและไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการใช้สารเคมีเกินความจําเป็น อย่างต่อเนื่องทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม ทีมวิจัยจึงมุ่งมั่นวิจัยและพัฒนานานกว่า 10 ปี เพื่อสร้าง นวัตกรรมชีวภัณฑ์กําจัดศัตรูพืชที่ตอบโจทย์และแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีที่สุด นั่นคือ ชีวภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์ครอบคลุม ต้นทุนต่ํา ปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน
(1) เป็นการผสมระหว่างปัจจัยสําคัญต่อการปลูกพืช 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1.เชื้อรา T. asperellum NST-009 สําหรับควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
2.เชื้อรา M. anisopliae WU-003 สําหรับควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเน้นกลุ่มด้วงและ หนอนผีเสื้อ
3.เชื้อรา B. bassiana WU-002 สําหรับควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเน้นกลุ่มเพลี้ย ไรแดง และหนอนผีเสื้อ
4.ธาตุอาหารรองที่มีความสําคัญต่อการเจริญเติบโต (แคลเซียมและแมกนีเซียม) เสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์พืช
และเพิ่มศักยภาพกลไกของเซลล์พืชในการต่อสู้กับศัตรูพืช
5.สารเสริมความแข็งแรงและกระตุ้นการงอกของสปอร์เชื้อราปฏิปักษ์ ทําให้สปอร์เชื้อรา ปฏิปักษ์ทั้ง 3 ชนิด มีอัตราการงอกสูงและลดเวลาของการงอก
(2) ใช้กับพืชได้ทุกชนิดเพราะผ่านการทดสอบโดยศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้จํานวน 31 โรค เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรคโนส โรคเน่าระดับดิน โรคใบจุด และโรคใบไหม้ เป็นต้น ในพืช 14 ชนิด เช่น ทุเรียน พืชตระกูลส้ม ยางพารา ปาล์มน้ํามัน ข้าว พืชผักต่าง ๆ และไม้ดอกไม้ ประดับ เป็นต้น สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ 12 ชนิด เช่น ด้วงแรดมะพร้าว เพลี้ยไฟ เพลี้ย อ่อน เพลี้ยแป้ง ไรแดง และหนอนผีเสื้อต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งมีธาตุอาหารที่จําเป็นต่อการเจริญ เติบโตของพืชทุกชนิด
(3) วิธีการใช้งานรูปแบบผงสปอร์สําหรับพื้นที่แปลงปลูกพืช โดยผสมน้ําตามอัตราที่ฉลากกําหนดพร้อมทั้งคนให้เข้ากัน ก่อนพ่นบนต้นพืชทั้งต้นที่ต้องการป้องกันความเสียหายจากศัตรูพืช และต้นที่เป็นโรคโดนแมลงศัตรูพืชเข้าทําลาย หรือต้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดธาตุอาหาร โดยพ่นให้ชุ่มทั่วต้นพืช จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทําลาย ป้องกันการขาดธาตุอาหาร และรักษาต้นพืชที่เป็นโรค โดนแมลงศัตรูพืชเข้าทําลาย และแสดงอาการขาดธาตุอาหารได้
นอกจากนี้ชีวภัณฑ์ในรูปแบบผงสปอร์ยังสะดวกต่อการใช้งาน และรับประกันความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้งาน ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม ในระดับสากลตามมาตรฐานองค์กร Or- ganization for Economic Co-operation and Development (OECD) โดยห้องปฏิบัติการมาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) จากต่างประเทศ

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
นวัตกรรมนี้ตอบโจทย์ด้านสังคมและชุมชนได้อย่างชัดเจน นั่นคือหากเกษตรกรลดต้นทุนการผลิตได้ เกิดกําไรในการประกอบอาชีพ เกิดความยั่งยืนในอาชีพ สภาพแวดล้อม เกษตรมีความปลอดภัย เกษตรกรส่วนใหญ่จะลดการอพยพย้ายถิ่นไปสู่สังคมอุตสากรรม
ซึ่งการอยู่อาศัยในถิ่นฐานตนนั่นย่อมก่อให้เกิดความเข้มแข็งทางสังคม เช่น เกิดความอบอุ่น ในครอบครัวและชุมชน เกิดความรักและพัฒนาสังคมบ้านเกิด และนํามาซึ่งการลดปัญหา ทางสังคมในชุมชนได้ เงื่อนไข/สิ่งสนับสนุนในการต่อยอด/ขยายผล เครื่องวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เช่น ตู้เขี่ยเชื้อ, ตู้บ่มเชื้อ เป็นต้น




แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566