ค้นหา

กระบวนการเตรียมเส้นใหม อย่างครบวงจร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เจ้าของผลงาน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ พัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย
เข้าชม 364 ครั้ง

นักวิจัย :
ผศ. ดร.มาโนช รินโย นายสมบัติ น้อยมิ่ง นายกัมปนาท ถ่ายสูงเนิน ดร.กรณี หลาวทอง
นายณัฐพงษ์ วงศ์วรรณ นางสาวธีรนุช สุมขุนทด นายอิสระพงษ์ เขียนปัญญา

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ผ้าไหมเป็นหนึ่งในสินค้า 1 ตําบล 1 ผลิตภัณฑ์ ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ตลาดผ้าไหมไทยมีมูลค่าซื้อขาย ประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี และมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 500 ล้านบาท ถึงแม้ว่าผ้าไหมจะมีราคาสูงแต่ยังเป็น ที่นิยมเพราะมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ อาชีพทอผ้าไหมกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ผ้าไหมที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากชุมชนมีความสามารถด้านการสร้างสรรค์การทอผ้าไหม ภูมิปัญญาอีสานจึงนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ผ่านการสั่งสม การถ่ายทอดและการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ทําให้ชุมชนหลายแห่งยังคงมีการทอผ้าไหมเป็นวิถีชีวิตและวิถีวัฒนธรรมมาจนถึงทุกวันนี้

ผลการวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม พบว่ากลุ่ม ผู้ผลิตผ้าไหมยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของการวิเคราะห์ปัญหาการกําหนดเป้าหมายของกลุ่มจากการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้ทันต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปและเหมาะสมกับบริบทของกลุ่ม และจากการนําวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตขณะที่ผลการศึกษาข้อมูลด้าน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม พบว่ามีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการปฏิบัติงานเกิดขึ้นทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 94.29 และเกิดอาการปวดเมื่อยยังมีต่อเนื่องจากเมื่อวาน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งเกิดจากการทํางานผิดหลักการยศาสตร์โดยมีสาเหตุจาก 1) ผู้ปฏิบัติงานต้องเอื้อมมือเหนือไหล่เพื่อหยิบจับสิ่งของขณะทํางาน 2) การก้มอย่างต่อเนื่อง และ 3) การเงยคอหรือแอ่นหลังขณะทํางาน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตผ้าไหม

คณะวิจัยจึงได้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และลดอาการผิดปกติของระบบโครงร่าง และการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการปฏิบัติงาน

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจรช่วยส่งเสริมให้การผลิตเส้นไหมและการเตรียมเส้นไหมมีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น
2 นวัตกรรมและเทคโนโลยีกระบวนการเตรียมเส้นไหมอย่างครบวงจรช่วยลดอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของผู้ปฏิบัติงาน ลดลงได้ร้อยละ 70

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :

  1. เครื่องสาวเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) ขนาด (ดีเนียร์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.51
    2) ความยาวเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.30
    3) คุณภาพเส้นไหม เกรด A
    4) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อลดลงร้อยละ 47.55
  2. เครื่องช่วยฟอกและย้อมสีเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) เวลาการฟอกและย้อมสีเส้นไหม ลดลงร้อยละ 38.57
    2) ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในกระบวนการฟอกและย้อมสีเส้นไหม ลดลงร้อยละ 57.87 3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 62.05
  3. เครื่องตีและควบเกลียวเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) ความเหนียวของเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.03
    2) การยืดตัวของเส้นไหม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.79 3) กําลังการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.47 ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 71.86
  4. เครื่องค้นหูกเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) เวลาการค้นหูกเส้นไหม ลดลงร้อยละ 43.12
    2) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 57.64
  5. เครื่องขึ้นลําามัดหมี่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) การสูญเสียเส้นไหม ลดลงร้อยละ 56.2
    2) เวลาการค้นหมี่เส้นไหม ลดลงร้อยละ 67.29
    3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 65.07
  6. เครื่องช่วยขึ้นม้วนเส้นไหม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดังนี้
    1) เวลาการขึ้นม้วนเส้นไหม ลดลงร้อยละ 51.82
    2) การสูญเสียเส้นไหม ลดลงร้อยละ 97.37
    3) ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ลดลงร้อยละ 66.67
แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566