ค้นหา

แฟชั่นผ้าทอจากใยรังไหมเหลือใช้ผสมใยฟางข้าว

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ , บพท.หน่วยงานสนับสนุนงานวิจัย
เข้าชม 708 ครั้ง

นักวิจัย :
นางรัตนเหงา อัจฉริยะพิทักษ์ นางสาวลักขณา พิทักษ์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
ตําบลเขวาสินรินทร์ อําเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีทุนเดิมทางวัฒนธรรมด้านการทอผ้าไหม การแปรรูป ผลิตภัณฑ์ เป็นอาชีพเสริมของชาวบ้าน มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าไหม และสนับสนุนงบประมาณเส้นไหมให้แก่สมาชิก เนื่องจากไม่ได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง เมื่อจําหน่ายได้จะต้องคืนค่าเส้นไหมให้กลับกลุ่ม ซึ่งเส้นไหมที่ต้องซื้อมีราคาแพง ต้นทุนสูง จึงทําให้แบกรับต้นทุนวัตถุดิบการผลิตผ้าไหม นักวิจัยจึงคิดแนวทางแก้ปัญหาโดยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายจากผ้าทอด้วยใยรังไหมเหลือใช้ผสมใยฟางข้าวร่วมกับกลุ่มทอผ้าไหม หมู่ 2 ตําบลเขวาสินรินทร์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยใช้ความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และใช้วัตถุดิบในชุมชน คือ ฟาง ข้าว เพื่อนําวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตรังไหมมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า แต่พบปัญหาการแปรสภาพเส้นใยด้วย กระบวนการย่อยเคมีที่ยาก ใช้เวลานาน ขณะที่การขยายผลเชิงอุตสาหกรรม พบว่าผ้าที่ทอได้รับความสนใจจากลูกค้า จึงแก้ปัญหาการย่อยด้วยวิธีทางเคมีชีวภาพ ซึ่งย่อยง่าย สะดวก ชุมชนทําได้เอง อีกทั้งได้นวัตกรที่มีความเชี่ยวชาญในการย่อยเส้นใยฟางข้าวด้วยวิธีการทางชีวภาพ

นอกจากนี้การปั่นเส้นใยรังไหมเหลือใช้ผสมเส้นใยฟางข้าวด้วยวิธีหัตถกรรมทําได้ยาก ช้า ใช้เวลานาน และต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เส้นใยไม่สม่ําเสมอ จึงพัฒนาเครื่องปั่นเส้นใยรังไหมเหลือใช้ผสมเส้นใยฟางข้าว และได้นวัตกรด้านการปั่นเส้นใย จากสถานการณ์โรคโควิด- 19 ที่ระบาดต่อเนื่อง ชุมชนได้สะท้อนความต้องการผ้าที่ทอง่าย ขายเร็ว นักวิจัยจึงเชื่อมโยงกับเทรนด์ผ้าผืนปี 2022 และความนิยมในปัจจุบัน จนได้ผ้าทอลายตาราง เกิดการยกระดับแปรรูป ผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย และได้นวัตกรด้านการทอที่มีความเชี่ยวชาญในการทอผ้าด้วยเส้นใยรัง ไหมเหลือใช้ผสมเส้นใยฟางข้าว รวมถึงนวัตกรด้านการออกแบบและขายออนไลน์ สําหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเสื้อผ้าได้รับความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก- มากที่สุด รองลงมาคือ กระเป๋า
หมวกตามลําดับ

จุดเด่นนวัตกรรม :
• การย่อยเส้นใยฟางข้าว ด้วยวิธีการทางชีวภาพ – เส้นใยฟางข้าวพันธุ์ กข 15 มีปริมาณเยื่อใยของเซลลูโลสสูง จึงช่วยทําให้เส้นใยรังไหมผสมเส้นใยฟางข้าวมีความแข็งแรง – เส้นใยสม่ําเสมอที่เกิดจากเครื่องปั่นเส้นใยรังไหมเหลือใช้ผสมเส้นใยฟางข้าว สะดวก รวดเร็ว ประหยัดไฟ ลดความเมื่อยล้าในการทํางาน และผลิตเส้นใยได้ทันต่อความต้องการของผู้ผลิตได้
• ลวดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน
• การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอเส้นใยรังไหมเหลือใช้ผสมเส้นใยฟางข้าว สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
ถ่ายทอดกระบวนการทํางานสร้างพื้นที่ต้นแบบด้วยการเรียนรู้นวัตกรรมให้กับนวัตกรชุมชน และจดทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าโดยบูรณาการเข้ากับ ระบบของลูกค้าและผู้รับประโยชน์ ด้วยการถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติจริงโดยนวัตกรชาว บ้านจากการคัดเลือกของชุมชน เกิดความร่วมมือในการสร้างนวัตกรรมผ้าทอจากเส้นใย ฟางข้าวผสมใยรังไหมเหลือใช้ เรียนรู้และปรับใช้นวัตกรรม ทําให้ลดต้นทุนการผลิต ได้เส้นใย ที่มีคุณภาพ และรวดเร็วต่อการผลิต นอกจากนี้ยังนําน้ําหมักชีวภาพไปใช้ประโยชน์ทางการ เกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มสมาชิกผู้ทอผ้า เป็นการพึ่งพาตนเองของชุมชนต่อไป




แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566