ค้นหา

เครื่องอบแห้งสมุนไพร ระบบพลังงานลมร่วมแสงอาทิตย์ แบบรูปทรงกระบอกแนวตั้ง

นายวีรยุทธ พรหมจันทร์ นางเรวดี มีสัตย์ ว่าที่ ร.ต. ณัฐศชา อินทร์ชูรัญ นายศรีวิชัย สู่สุข นายกุศล เอี่ยมทรัพย์ นายสรวิศ แจ่มจํารูญ นายพงศธร หลิมศิริวงษ์ นางธัญวรัตน์ กาจสงคราม นายนิกร แก้วแพรก ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพกองบริการธุรกิจนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เจ้าของผลงาน
เข้าชม 650 ครั้ง

นักวิจัย :
นายวีรยุทธ พรหมจันทร์ นางเรวดี มีสัตย์ ว่าที่ ร.ต. ณัฐศชา อินทร์ชูรัญ นายศรีวิชัย สู่สุข นายกุศล เอี่ยมทรัพย์ นายสรวิศ แจ่มจํารูญ นายพงศธร หลิมศิริวงษ์ นางธัญวรัตน์ กาจสงคราม นายนิกร แก้วแพรก ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพกองบริการธุรกิจนวัตกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เจ้าของผลงาน

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :
กระบวนการอบแห้งสมุนไพร เป็นขั้นตอนสําคัญในการเตรียมวัตถุดิบก่อนจะนําไป แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ยา อาหารเสริมสุขภาพ หรือเครื่องสําอาง จําเป็นต้องอบ แห้งสมุนไพรโดยใช้อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 45 – 55 องศาเซลเซียส เนื่องจากการอบแห้ง สมุนไพรที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ปริมาณสารสําคัญจากสมุนไพร ลดลงได้ เครื่องอบแห้งสมุนไพรพลังงานลมร่วมแสงอาทิตย์ แบบรูปทรงกระบอกแนวตั้ง ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการ ในขั้นตอนการอบแห้ง
สมุนไพร โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอบแห้งที่มีปริมาณสารสําคัญ สูงสุด ใช้งานง่าย โดยมีหลักการทํางานที่ไม่ซับซ้อน ต้นทุนต่ํา และประหยัดพลังงาน

คุณสมบัติและจุดเด่นของผลงาน :
1 โครงสร้างแบบรูปทรงกระบอกแนวตั้ง ช่วยให้การกระจายความร้อนภายในห้องอบแห้งมี
ประสิทธิภาพสูงสุด
2 เหมาะสําหรับอบแห้งสมุนไพรประเภท เหง้า ใบ และดอก เช่น ขิง ขมิ้น บัวบก ฟ้าทะลายโจร อัญชัน เป็นต้น
3 ถาดวางวัตถุดิบ จํานวน 12 ชั้น รองรับสมุนไพรสด 30 – 50 กิโลกรัมต่อครั้ง (ขึ้นอยู่กับ ชนิดของสมุนไพร)
4 อัตราการอบแห้งสูงกว่าตู้อบแสงอาทิตย์ทั่วไป 5 – 10 เท่า (เปรียบเทียบจากพื้นที่ติดตั้งใช้งาน)
5 ระบบอบแห้งด้วยความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่องผ่านผนังตู้อบ อุณภูมิอบแห้ง สูงสุด 60 องศาเซลเซียส
6 ระบบลดความชื้นด้วยลูกหมุนระบายอากาศ อาศัยพลังงานลมจากธรรมชาติ เพื่อดูดความชื้นออกจากตู้อบ
7 ระบบเติมอากาศใหม่ สําหรับเติมอากาศใหม่เข้าระบบ ช่วยให้อากาศภายในห้องอบแห้ง เกิดการหมุนเวียน
8 ระบบวาล์วปรับแรงดูด สําหรับควบคุมอุณหมิและความชื้นภายในห้องอบแห้ง 9. สามารถรองรับพลังงานความร้อนเสริมได้ จากระบบไฟฟ้าหรือก๊าซ LPG

ผลที่คาดว่าจะเกิดจากการนําไปใช้ :
ประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมจากธรรมชาติ ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย อุณหภูมิในการอบสม่ําเสมอ

Link ข้อมูลเพิ่มเติม :https://youtu.be/TvK9QIR6ItQ

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : TRIUP Fair งานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566