ค้นหา

เทคโนโลยี การเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติ

admin
เข้าชม 514 ครั้ง

“ปูนา” เป็นอาหารธรรมชาติที่อยู่ในวัฒนธรรมการกินของ ชุมชนชนบทมาช้านาน หาจับได้ตามท้องนาหลังฤดูเกี่ยวข้าว แต่ปัจจุบันผู้เฒ่าผู้แก่ต่างบอกกันว่า “ปูนาหายากขึ้นจํานวน ลดลงเรื่อยๆ ต่างจากเมื่อ 40 กว่าปีก่อน เหมือนจะสูญพันธุ์ กันหมดแล้ว” สาเหตุหลักเกิดจากระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารในนาข้าว ถูกทําลาย ท้องนาเต็มไปด้วยการใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาปราบศัตรูพืช ทั้งยังได้รับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน

ชาวบ้านภาคอีสานจับปูนามาบริโภคไม่ต่ํากว่า 100 ตัวต่อปี หรือ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อครัวเรือนต่อปี ขณะเดียวกันปูนาเป็นวัตถุดิบสําคัญ ในเมนูส้มตํา ร้านค้าต้องการใช้ปูนาไม่ต่ํากว่า 300 ตัว หรือประมาณ 6 กิโลกรัมต่อเดือน เมื่อจับปูนาจากธรรมชาติได้น้อยลง ทําให้เกิดการ นําเข้าปูนาจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้สนับสนุน ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม และคณะ จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุรินทร์ ดําเนินงาน “โครงการพัฒนาการเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติอย่างยั่งยืนและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ดและสุรินทร์” โดยมีเป้าหมาย
● ศึกษาสายพันธุ์ปูนาที่ชุมชนเพาะเลี้ยง ทั้งด้านชีววิทยา วงจรชีวิตและ ความเป็นอยู่ในสภาพธรรมชาติและในบ่อเพาะเลี้ยง เพื่อพัฒนาการ เพาะเลี้ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
● พัฒนาวิธีการเลี้ยงปูนาในระบบเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อลดการปนเปื้อนของพยาธิที่ก่อโรคในคน ปลอดภัยต่อการบริโภค
● พัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงปูนาจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
● พัฒนาแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติในชุมชน
● ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงปูนาและการแปรรูปสู่ชุมชน

จากการศึกษาอนุกรมวิธานปูนาในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดสุรินทร์พบปูนา ที่ชาวบ้านนิยมเลี้ยงมี 2 สกุล (จีนัส) คือ 1) สกุล Sayania ได้แก่ ปูนาพันธุ์สมเด็จ พระเทพฯ และปูนาพันธุ์กําแพงเพชร และ 2) สกุล Esanthelphusa เป็นปูนา ประจําถิ่นของภาคอีสาน ในประเทศไทยปูนาทั้ง 2 สกุลได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ไม่น้อยกว่า 13 ชนิดพันธุ์ (สปีชีส์)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้สนับสนุนให้ชุมชนเพาะเลี้ยงปูนาอย่างถูกต้องตามสายพันธุ์ เพื่อให้เกิดการเก็บรักษาสายพันธุ์ในชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดจน | จัดตั้งจุดเรียนรู้ในชุมชน สาธิตการเลี้ยงปูนาด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติโดยวิธีการรักษาระบบนิเวศที่เหมาะสม จํานวน 4 แห่ง ในจังหวัดร้อยเอ็ดและ จังหวัดสุรินทร์

จุดเรียนรู้การเลี้ยงปูนา เลียนแบบธรรมชาติ
● จุดเรียนรู้สถานีปูนาเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
● จุดเรียนรู้ปูนาบ้านสําโรง ต.ศรีโคตร อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
● จุดเรียนรู้ศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วิทยาเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ต.ทุ่งกุลา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
● จุดเรียนรู้ปูนาบ้านโคกเพชร ต.ไพล อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

ถ่ายทอดเทคโนโลยี
● พัฒนาผู้เลี้ยงรายเดิมให้เป็น“เกษตรกรต้นแบบเลี้ยงปูนา” จํานวน 12 ราย โดยถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงปูนาเลียนแบบธรรมชาติและสูตรอาหารที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย
● ขยายผลความรู้สู่เกษตรกรรายใหม่ที่สนใจเลี้ยงปูนา จํานวน 150 รายมีเกษตรกรเริ่มลงมือเลี้ยงตาม คู่มือมากกว่า 50 ราย

การดําเนินงานของโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นและชุมชนในจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด ทําให้ชุมชน เห็นถึงความสําคัญของปูนาที่เป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งสร้างรายได้ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การระบาด ของไวรัสโควิด-19 ผู้คนที่กลับบ้านสามารถทําอาชีพเกษตรผสมผสานร่วมกับการเลี้ยงปูนาเพื่อยังชีพลดการพึ่งพา แหล่งอาหารจากภายนอกชุมชน และมีรายได้จากการขายปูนากิโลกรัมละ 80-120 บาท

ข้อมูลโดย ผศ.ดร.นิภาศักดิ์ คงงาม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 0 2564 7000 โทรสาร 0 2564 7004
อีเมล [email protected] www.nstda.or.th/agritec

คลิกเพื่อดาวน์โหลด

แชร์ :