ค้นหา

“KU-Fish glue stick” กาวแท่งจากหนังของปลา

รศ.ดร.กังสดาลย์ บุญปราบ
เข้าชม 701 ครั้ง

นักวิจัย : รศ.ดร.กังสดาลย์ บุญปราบ 

อนุสิทธิบัตรเลขที่ 19021 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา :

กาวจากปลา (Fish glue) คือ สารจากธรรมชาติประเภทโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการยึดติดวัสดุเข้าด้วยกัน ผลิตจากหนังและกระดูกของปลาที่เป็นเศษเหลือจากกระบวนการแปรรูป โดยมีองค์ประกอบหลักเป็นคอลลาเจนหรือเจลาตินที่อยู่ในรูปของเหลวหรือกึ่งของเหลว สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น งานกระดาษ งานไม้ งานในครัวเรือน อุตสาหกรรมเครื่องหนัง งานเคลือบที่ต้องการความโปร่งใสบนวัสดุ

จากการศึกษาเรื่องชนิดปลาที่เหมาะสมสำหรับนำมาผลิตเป็นกาวพบว่า ปลานวลจันทร์ทะเล  เป็นปลาที่มีความเหมาะสมในการผลิตกาว สามารถผลิตติดผนึกวัสดุกระดาษ ไม้ และโฟมได้ โดยคุณสมบัติทางเคมีได้แก่ ไขมัน โปรตีน ความชื้น คาร์โบไฮเดรต PH และความหนืด งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ของกาวจากหนังปลา เช่น ใช้เป็นกาวอุตสาหกรรมอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร หรือติดกาวกับวัสดุที่กินได้เพื่อตกแต่งอาหารให้สวยงามในรูปแบบต่างๆ

การผลิตกาวแท่งเพื่อใช้ทําผลิตภัณฑ์ให้เป็นวัสดุยึดติดวัสดุทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกัน เช่น กระดาษ การซ่อมแซมอุปกรณ์ในเครื่องดนตรีบางชนิดที่มาจากไม้ เป็นต้น ช่วยลดภาวะมลพิษที่เกิดจากการสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมสารเคมีที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะดวกต่อการใช้ การประดิษฐ์เป็นแท่งที่มีขนาดเล็กทําให้ง่ายต่อการพกพา การใช้เนื้อที่น้อยในการเก็บสินค้าก่อนใช้มีความคงตัวที่อุณหภูมิห้อง และการใช้กาวปริมาณน้อยเพื่อทําให้วัสดุ เช่น กระดาษติดกัน กาวหนังปลานี้มีความสามาถติดวัสดุได้หลากหลายเรียงจากความสามารถสูงไปต่ำ คือ กระดาษ ผ้า ไม้ และพลาสติก และโฟม

จุดเด่นนวัตกรรม :

กาวแท่งจากหนังปลา ประดิษฐ์จากกาวหนังปลาขึ้นรูปทรงเป็นแท่ง มีลักษณะเป็นของกึ่งแข็ง ใช้ติดกระดาษ ในลักษณะ Glue-Stick ทำเป็นแท่งขนาดเล็ก มีความสะดวกต่อการใช้และง่ายต่อการพกพา ใช้ประโยชน์เพื่อทดแทนการสร้างกาวจากการใช้สารเคมี ลดภาวะมลพิษที่เกิดจากการสร้างของเสียจากอุตสาหกรรมเคมีที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นทางเลือก ในการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทดแทนสารเคมี และลดมลพิษด้านต่างๆ ที่มาจากสารเคมีเพราะเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากกระบวนการผลิตในการแปรรูปทางประมง ส่งผลต่อการลดขยะและภาวะมลพิษที่เกิดจากการแปรรูปทางการประมง การประดิษฐ์นี้เป็นผลงานที่จดอนุสิทธิบัตรแล้ว ตามเลขที่อนุสิทธิบัตร 19021

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : รศ.ดร.กังสดาลย์ บุญปราบ ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาเกษตรศาสตร์

โทรศัพท์ 089-891-5267 หรือ อีเมล : [email protected]

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://th-th.facebook.com/kuservice.ku.ac.th/