ค้นหา

มทร.อีสาน ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตข้าวหอมมะลิมีเทนต่ำ แก่เกษตรกรที่ทุ่งกุลาร้องไห้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน)
เข้าชม 259 ครั้ง

มทร.อีสาน เปิดโครงการผลิตข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อสร้างพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การผลิตข้าวห้อมมะลิลดโลกร้อน ด้วยการลดการปล่อยก๊าซมีเทน ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) โครงการจัดตั้งวิทยาเขตร้อยเอ็ด ทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นายไพโรจน์ จิตจักร์ ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดโครงการผลิตข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้าน Climate Change มทร.อีสาน และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นประธานเปิดโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดโครงการ “โครงการผลิตข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้” ว่า เริ่มต้นจาก ขณะนี้สถานการณ์ภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ส่งผลกระทบ และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทุกมิติของโลก ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากการปลดปล่อย “ก๊าซมีเทน” ที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากทั้งในภาคอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ รวมถึงภาคเกษตรกรรม จึงส่งผลให้ “ข้าว” และกระบวนการปลูกข้าว ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและพัฒนาพื้นทุ่งกุลาร้องไห้อย่างยั่งยืน มีพันธกิจในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ มีทักษะสูง เป็นนวัตกรและผู้ประกอบการที่มีพลังแห่งการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้อย่างยั่งยืน

อธิการบดี มทร.อีสาน กล่าวต่อว่า มหาวิทยาลัยฯ เป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จึงได้เกิดเป็น “โครงการผลิตข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้” ขึ้น ซึ่ง มทร.อีสาน มีพันธกิจตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรและความมั่งคงด้านอาหาร ด้วยอีกประการหนึ่ง ทั้งนี้จึงมีความเชื่อมั่นว่า จะสามารถขยายผลสัมฤทธิ์พื้นที่การปลูกข้าวมีเทนต่ำ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในวิทยาเขตและครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด จ.สุรินทร์ จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร และ จ.มหาสารคาม บนพื้นที่ กว่า 2.1 ล้านไร่ ของทุ่งกุลาร้องไห้ ได้ในอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต กล่าวอีกว่า “โครงการผลิตข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการปลูกข้าว เพื่อลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการผลิตข้าวเพื่อลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดการค้าข้าวระหว่างประเทศ เพื่อสร้างพื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการปลูกข้าว เพื่อลดการผลิตก๊าชเรือนกระจก และเพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการผลิตข้าวเพื่อลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สร้างโอกาสทางการตลาด และยกระดับการค้าข้าวระหว่างประเทศ เพื่อให้พี่น้องประชาชนชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและก้าวไกลยืนหนึ่ง ในตลาดการค้าระดับโลก

ด้าน นายแพทย์ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นายกสภามหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวว่า สำหรับ โครงการ”ปลูกข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกลาร้องไห้” ที่ได้ดำเนินการขึ้นนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ต่อชาวนา องค์กร และหน่วยงานที่มีบทบาทในด้านการผลิตข้าวของประเทศไทย โดยคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคนโลยีราชมงคลอีสาน จะร่วมกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในการศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการปลูกข้าวมีเทนต่ำ ซึ่งมี “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีศักยภาพในการสร้างรายได้ และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประเทศไทย

สำหรับ “โครงการปลูกข้าวมีเทนต่ำ ณ ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นโครงการที่สอดรับกับพันธกิจตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรและความมั่งคงด้านอาหาร ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถขยายผลสัมฤทธิ์พื้นที่การปลูกข้าวมีเทนต่ำ ในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งได้แก่ ศูนย์กลางนครราชสีมา วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาเขตขอนแก่น และวิทยาเขตสกลนคร โดยเริ่มการขับเคลื่อนโครงการต้นแบบในพื้นที่วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อการศึกษาวิจัยกระบวนการปลูกข้าวเพื่อลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทน และการริเริ่มโครงการศึกษาวิจัยข้าวมีเทนต่ำในพื้นที่ ทุ่งกลาร้องไห้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้กับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สร้างมาตรฐานการปลูกข้าวมีเทนต่ำ พัฒนากลไกการตลาด ช่วยยกระดับคุณภาชีวิตของผู้คนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และหนุนเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนในจังหวัดร้อยเอ็ดที่ได้ให้การสนับสนุนให้เกิดจุดเริ่มต้นโครงการในครั้งนี้.

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2638790