นักวิจัย/เจ้าของนวัตกรรม/เจ้าของข้อมูล :
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเขตตรัง
ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว
ที่มา ข้อมูลเบื้องต้น : การบริโภคหอยนางรมในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เนื่องจากหอยนางรมเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี มีแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด ทำให้ประเทศไทยมีการบริโภคหอยนางรมประมาณ 30,000-40,000 ตันต่อปี ข้อมูลจากกรมประมง ระบุถึงสถิติที่มีการนำเข้าหอยนางรมจากต่างประเทศประมาณ 20,000-30,000 ตัน เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ซึ่งมีประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ จึงเป็นโจทย์สำคัญให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาลัยเขตตรัง นำงานวิจัยเข้ามาใช้สร้างนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงหอยนางรมให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่
ความสำคัญของปัญหา : วิธีการเลี้ยงหอยนางรมแบบเก่า เป็นวิธีการเลี้ยงแบบพวงอุบะแขวนจะให้ผลผลิตที่ต่ำกว่า ลักษณะเปลือกหอยงองุ้มทำให้เนื้อหอยไม่สวย รวมทั้งเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงขาดแคลนองค์ความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยี การจัดการพื้นที่ และการตลาดที่เพียงพออีกด้วย
จุดเด่นนวัตกรรม :
การปรับปรุงวิธีการเลี้ยงหอยนางรมให้ทันสมัย โดยเปลี่ยนจากการใช้ตะแกรงพลาสติกหลายชั้นที่ซับซ้อน มาเป็นการใช้ตะกร้าร่วมกับตะแกรง ซึ่งจะทำให้การจัดการง่ายขึ้นและสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 3-5 เท่าในพื้นที่เท่าเดิม อีกทั้งยังช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงทำงานได้สะดวกขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ โดยเกษตรกรสามารถเลี้ยงหอยนางรมได้ถึง 500 ตัว ในตะกร้าเดียวกัน เปลือกหอยมีลักษณะเรียบสวยทำให้เนื้อหอยมีความสมบูรณ์ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
เลขที่ 1 ถ.ราชดำเนินนอก ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-7431-7100
e-mail : [email protected].