ค้นหา

น้ำหมักจากเปลือกมังคุด

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เข้าชม 765 ครั้ง

น้ำหมักจากเปลือกมังคุด ทางเลือกจัดการโรครากเน่าและโคนเน่าในทุเรียน

การแพร่ระบาดของโรค
• สปอร์เชื้อราอยู่ในดินและชิ้นส่วนต้นทุเรียนที่เป็นโรค
• สามารถปลิวไปกับลมหรือหยดน้ำฝน
• ติดไปกับเครื่องมือการเกษตร
• ติดไปกับเสื้อผ้าเกษตรกร

การจัดการโรค
• ตรวจแปลงสม่ำเสมอ
• ปรับปรุงสภาพดิน
• ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำขัง
• ใช้ต้นตอต้านทานโรค
• ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา โรยโดยรอบบริเวณทางพุ่มต้นทุเรียน
• ใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา ทาบริเวณแผล ร่วมกับการฝังเข็มด้วยฟอสฟอรัส แอชิด
• ทางเลือกใหม่ ใช้น้ำหมักจากเปลือกมังคุด

วิธีเตรียมน้ำหมักจากเปลือกมังคุด
1. ใส่เปลือกมังคุดลงในถังหมัก
2. เติมน้ำตาลหัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำสะอาด
3. กวนส่วนผสมให้เข้ากัน
4. ปิดฝา หมักในที่ร่ม เป็นเวลานาน 3 เดือน

น้ำหมักจากเปลือกมังคุด มีอายุการเก็บรักษา นาน 12 เดือน นับจากวันที่ผลิต

การใช้
ขั้นตอนที่ 1 ขูดแผลต้นทุเรียนที่เป็นโรค
ขั้นตอนที่ 2 สเปรย์น้ำหมักจากเปลือกมังคุดที่แผล หรือ ทาน้ำหมักจากเปลือกมังคุดที่ผสมสารจับใบให้ทั่วแผล
ขั้นตอนที่ 3 ทาซ้ำทุก 3-7 วัน จนกว่าแผลรากเน่า และ โคนเน่าแห้งสนิท

!!คำเตือน ไม่ควรรักษาแผลในช่วงฝนตก เนื่องจากต้นทุเรียนจะดูดน้ำ ทำให้น้ำหมักจากเปลือกมังคุดไม่ซึมเข้าต้น ประสิทธิภาพการรักษาลดลง

ข้อมูลโดย
ผศ.ดร.มณีรัตน์ คูหาพิทักษ์ธรรม สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

ผู้พัฒนานวัตกรรม
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทรศัพท์ 0-2564-7000
E-Mail : [email protected]
Website : www.nstda.or.th/agritec

คลิกเพื่อดาวน์โหลด

แชร์ :